Thursday, July 26, 2012

วิธีขับรถตอนฝนตก และ น้ำท่วม

ช่วงนี้เข้าหน้าฝนเต็มรูปแบบอาจมีฝนตกหนักบ้าง หรือไม่หนักบ้าง และก็เริ่มมีน้ำท่วมหลายพื้นที่ บางพื้นที่ก็ท่วมหนัก มากกว่า 1 เมตร เดี๋ยวเรามาดูวิธีการขับรถลุยน้ำ เผื่อสถาวะฉุกเฉิน



1.ควรใช้เกียร์ต่ำอยู่เสมอ
การขับรถเมื่อฝนตกเพิ่งตกใหม่ๆ ต้องเพิ่มความระวังเป็นพิเศษ เพราะถนนจะลื่นมาก เมื่อฝุ่นหรือละอองไอเสียจากน้ำมันเจอเข้ากับน้ำฝน จะรวมกันเป็นคล้ายกับโคลนเลนที่ลื่น รถจะเกิดอาการลื่นไถลได้ง่าย หากขับรถในช่วงฝนเพิ่งเริ่มตก "จำง่ายๆ ว่าขับรถด้วยความเร็วต่ำ และขับโดยใช้เกียร์ต่ำเสมอ"

ถ้าเป็นเกียร์แมนนวลก็ประมาณเกียร์ 2 หรือถ้าเกียร์อัตโนมัติก็อาจใช้เกียร์ L ได้ จะช่วยให้รถเกาะถนนได้ดีขึ้น เปิดไฟหรี่หรือไฟใหญ่ตามแต่สถานการณ์ การเปิดไฟจะช่วยให้รถคันอื่นมองเห็นเรา แต่..ห้ามเปิดไฟกระพริบโดยเด็ดขาด การเปิดไฟกระพริบนั้นจะเปิดสำหรับรถเสียที่จอดนิ่งอยู่บนถนนเท่านั้น

หลีกเลี่ยงการเบรกอย่างกระทันหัน เพราะจะทำให้รถลื่นไถลหรือหมุนได้ ถ้ารถเริ่มเสียหลักให้ถอนคันเร่ง ประคองพวงมาลัย และอย่าเหยียบเบรคกะทันหัน"หากจำเป็นต้องขับรถวิ่งผ่านแอ่งน้ำ ให้ถอนคันเร่งโดยไม่ต้องเบรค" อย่าหักพวงมาลัย จับพวงมาลัยให้แน่น เมื่อรถรถพ้นแอ่งน้ำไปแล้ว รถก็จะเริ่มจับเกาะถนนได้ และก็สามารถควบคุมได้

2. ขัยรถช้าได้เป็นดีที่สุด
ระดับน้ำท่วมผิวถนน คือ ระดับความลึกของน้ำประมาณไม่เกิน 6 นิ้ว ไม่มีผลต่อรถของเรา ส่วนที่จมน้ำจึงมีเพียงลูกหมากและบูทยางของระบบรองรับและระบบบังคับเลี้ยวเท่านั้น ชิ้นส่วนเหล่านี้ถูกออกแบบมาให้แช่น้ำชั่วคาวได้โดยไม่เกิดความเสียหาย "สิ่งสำคัญที่สุด คือ การรักษาระดับความเร็วของรถ โดยขับให้ช้าที่สุดเท่าที่จะทำได้" น้ำที่ถูกล้อรถรีดด้วยความเร็วจะทะลักพุ่งออกมาทางด้านข้างอย่างแรง ฉีดไปที่ห้องเครื่องยนต์ อาจทำให้เครื่องยนต์ดับ หรือน้ำอาจกระเซ็นขึ้นกระจกบังลมหน้าทำให้มองไม่เห็นทางได้

3. ถ้าระดับน้ำสูงให้มีสติเข้าไว้
ระดับที่ผิวน้ำสูงถึงท้องรถ ขณะขับรถจะได้ยินเสียงน้ำกระทบใต้ท้องรถค่อนข้างดัง ไม่ต้องตกใจ "ควรขับให้ช้าที่สุดเท่าที่จะทำได้เพื่อลดการกระเพื่อมของน้ำ" หลีกเลี่ยงการตกหลุมที่มองไม่เห็น โดยอาจสังเกตจากรถคันหน้าและจำแนวไว้หรือขับให้ชิดขวาให้มากที่สุด เพราะโดยปกติจะเป็นเลนซ้ายสุดมากกว่าที่ถนนจะชำรุด เพราะรถบรรทุกน้ำหนักมากๆ จะวิ่งเลนซ้าย



4. อย่าเปิดแอร์และอย่าเร่งเครื่องมาก
ระดับที่น้ำท่วมเลยท้องรถ "สาเหตุที่รถดับส่วนใหญ่เกิดจากการเปิดแอร์แล้วขับลุยน้ำ" เพราะเมื่อเปิดแอร์ พัดลมจะทำงาน ทำให้ใบพัดจะพัดให้น้ำกระจายไปทั่วห้องเครื่องแล้วทำให้เครื่องดับ หลายคนเข้าใจว่าต้องเร่งรอบให้สูงๆ ไว้ เพราะกลัวน้ำจะเข้าท่อไอเสีย ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ผิดนะครับ เพราะที่รอบเดินเบา เครื่องยนต์มีกำลังเหลือเฟือที่จะดันน้ำไม่ให้เข้าในท่อไอเสียครับ แต่การเลี้ยงรอบให้สูงจะทำให้เครื่องยนต์ร้อน และใบพัดระบายความร้อนจะทำงาน ทำให้น้ำกระจายเต็มห้องเครื่อง และนี่จะเป็นสาเหตุให้เครื่องยนต์ดับครับ และไม่ว่าจะขับช้าเพียงใด น้ำก็อาจจะทะลักท่วมห้องเกียร์และเฟืองท้าย (รถปิคอัพ) ผสมกับน้ำมันเกียร์ และน้ำมันเฟืองท้าย ทำให้เสื่อมสภาพฟันเฟืองต่างๆ ภายในจะสึกหรออย่างรวดเร็วและน้ำจะแทรกซึมเข้ามาทางจุกยางหลายจุดจากพื้นรถ พรมและฉนวนกันเสียงจะชุ่มน้ำ หากทำได้ให้รีบรื้อเบาะออก และถอดออกมาผึ่งแดดรถบางรุ่นจะมีศูนย์ควบคุมระบบอิเล็กทรอนิกส์ (ECU) อยู่ใต้เบาะซึ่งชิ้นส่วนนี้มีราคาสูงมาก หากมีความชื้น หรือโดนน้ำจะเสียทันที

5. ระดับที่อันตรายที่สุด
ระดับน้ำที่ท่วมจนถึงไฟหน้า เป็นระดับน้ำที่อันตรายที่สุด หากขับหรือจอดอยู่นานน้ำท่วมภายในห้องโดยสารจนถึงเบาะนั่ง ห้องเกียร์และเฟืองท้ายจะถูกท่วมมิด หากเครื่องยนต์ไม่ดับไปเสียก่อน เนื่องจากระบบจุดระเบิดขัดข้อง และผู้ขับยังฝืนขับต่อด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ น้ำจะทะลักเข้าทางท่อดูดอากาศ ผ่านไส้กรองอากาศ ท่อไอดีและเข้าไปในกระบอกสูบ ลูกสูบที่กำลังเคลื่อนที่ขึ้นอย่างรวดเร็วจะกระแทกกับปริมาตรน้ำอย่างรุนแรง (ไฮดรอลิกลอค) จนลูกสูบและก้านสูบชำรุดเสียหายทันที

เพราะฉะนั้นระดับน้ำที่เรายังใช้งานได้โดยไม่เกิดความเสียหาย คือ ระดับน้ำท่วมผิวถนน และระดับที่ผิวน้ำสูงถึงท้องรถเป็นครั้งคราวเท่านั้น

หลังจากลุยน้ำท่วมสูงมาแล้วทุกครั้ง ควรเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเกียร์ และน้ำมันเฟืองท้าย และให้ถอดเบาะตรวจด้านล่างของพรมปูพื้นว่ามีน้ำรั่วเข้าถึงหรือไม่ "รถที่ลุยน้ำลึกมาแล้ว หากถึงที่หมายหรือรถพ้นน้ำ ห้ามดึงเบรกมือทิ้งไว้เด็ดขาด" เพราะเมื่อน้ำแห้งผ้าเบรกจะยึดกับจานเบรกจะทำให้เกิดสนิมจนไม่สามารถเคลื่อน รถออกไปได้ หากรถไหลให้หาขอนไม้หรือก้อนหินมาหนุนล้อไว้แทน

และสิ่งที่ควรทำทันทีหลังจากลุยน้ำในทุกระดับความสูงมา คือพยายามย้ำเบรกเพื่อไล่น้ำ เพราะหลังจากการลุยน้ำมาผ้าเบรกเปียกชื้น จะเบรกไม่อยู่และเป็นอันตรายมาก

รู้ไว้สักนิดจะปลอดภัยกับรถของเราและตัวเราด้วยครับผม



ขอบคุณบทความจาก
www.snature.net/article/วิธีขับรถลุยน้ำท่วม.htm

เขียนเมื่อ : // 9:30 PM
หมวดหมู่:

0 comments:

Post a Comment

 
Powered by Blogger.